Gutenberg–Richter law

กฏของกูเต็นเบิร์ก-ริกเตอร์ เกี่ยวกับอาฟเตอร์ช็อค มีสมการเบื้องต้นว่า log10 N = a – bM

S__5808173

กราฟแจกแจงความถี่ FMD ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวสุมาตรา 26 ธ.ค. 47 บันทึกโดย NEIC

จำนวนครั้งและขนาดของอาฟเตอร์ช็อค หลังจากเกิดแผ่นดินไหวหลัก M ต้องพิจารณาจากกราฟแจกแจงความถี่ FMD ในภาพด้านบนโดยค่า M ที่นำมาพิจารณาจะต้องมากกว่า Completeness magnitude หรือ Mc ซึ่งการสังเกต Mc ให้ดูที่แมกนิจูดเล็กที่สุดก่อนเส้นกราฟจะเริ่มโค้ง (กฏ GR ใช้ได้กับช่วงเส้นกราฟที่เป็นเส้นตรงเท่านั้น) โดยมีค่าคงที่ที่ต้องสนใจ 2 ค่า แตกต่างกันไปตามพื้นที่ต่างๆของโลก สำหรับพื้นที่ของไทยเราจะใช้ค่า a=9.54 และ b = 1.30 ± 0.01 โดยสมการทั่วไปของกูเต็นเบิร์ก-ริกเตอร์จะใช้ในรูปแบบ N = 10a-bM 

อ้างอิง http://www.diva-portal.org/smash/get/diva2:168371/FULLTEXT01.pdf

 

ข้อความนี้ถูกเขียนใน วิชาแผ่นดินไหว 101 คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น