ความเห็นของพุทธทาส

1376541268-Y127473583-o 1376541351-1372044914-o 1376541394-2-o 1376542095-o 1376543959-1358231629-o 1376544178-Y130383749-o 1376544514-Y130383748-o 1405120993-32310361-o

โพสท์ใน ศาสนา | ใส่ความเห็น

Gutenberg–Richter law

กฏของกูเต็นเบิร์ก-ริกเตอร์ เกี่ยวกับอาฟเตอร์ช็อค มีสมการเบื้องต้นว่า log10 N = a – bM

S__5808173

กราฟแจกแจงความถี่ FMD ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวสุมาตรา 26 ธ.ค. 47 บันทึกโดย NEIC

จำนวนครั้งและขนาดของอาฟเตอร์ช็อค หลังจากเกิดแผ่นดินไหวหลัก M ต้องพิจารณาจากกราฟแจกแจงความถี่ FMD ในภาพด้านบนโดยค่า M ที่นำมาพิจารณาจะต้องมากกว่า Completeness magnitude หรือ Mc ซึ่งการสังเกต Mc ให้ดูที่แมกนิจูดเล็กที่สุดก่อนเส้นกราฟจะเริ่มโค้ง (กฏ GR ใช้ได้กับช่วงเส้นกราฟที่เป็นเส้นตรงเท่านั้น) โดยมีค่าคงที่ที่ต้องสนใจ 2 ค่า แตกต่างกันไปตามพื้นที่ต่างๆของโลก สำหรับพื้นที่ของไทยเราจะใช้ค่า a=9.54 และ b = 1.30 ± 0.01 โดยสมการทั่วไปของกูเต็นเบิร์ก-ริกเตอร์จะใช้ในรูปแบบ N = 10a-bM 

อ้างอิง http://www.diva-portal.org/smash/get/diva2:168371/FULLTEXT01.pdf

 

โพสท์ใน วิชาแผ่นดินไหว 101 | ใส่ความเห็น

คำนวนรัศมีและจำนวนครั้งของอาฟเตอร์ช็อค

 

อ้างอิง Reasenberg 1985

Reasenberg 1985

แผ่นดินไหวขนาด M6.0 จะมีวงรัศมีอาฟเตอร์ช็อค 29 ก.ม. เกิดอฟาเตอร์ช็อคนาน 72 วัน

แผ่นดินไหวขนาด M6.3 จะมีวงรัศมีอาฟเตอร์ช็อค 38 ก.ม. เกิดอฟาเตอร์ช็อคนาน 114 วัน

แผ่นดินไหวขนาด M6.5 จะมีวงรัศมีอาฟเตอร์ช็อค 46 ก.ม. เกิดอฟาเตอร์ช็อคนาน 155 วัน

แผ่นดินไหวขนาด M7.8 จะมีวงรัศมีอาฟเตอร์ช็อค 153 ก.ม. เกิดอฟาเตอร์ช็อคนาน 1,138 วัน

ปล. กฏนี้ใช้กับขนาดแผ่นดินไหวไม่เกิน 8.0

ขอบคุณ อ.ไพบูลย์ นวลนิล

โพสท์ใน ภัยพิบัติ, วิชาแผ่นดินไหว 101 | ใส่ความเห็น

สัญลักษณ์ของสถานีตรวจอากาศ Wx Station ที่ใช้โดยกรมอุตุฯ

WxSymbols-1

โพสท์ใน ภัยพิบัติ | ใส่ความเห็น

เฟสต่างๆของคลื่นแผ่นดินไหว P และ S

fig_1.1.2b

เฟสต่างของของคลื่น P และ S มีเป็นจำนวนมาก ในภาพจากเอกสารของริกเตอร์ เส้นทึบแทนคลื่น P เส้นประแทนคลื่น S หากผ่านเข้าแกนโลกส่วนอกแทน ก้จะเพิ่มเฟส K หากสะท้อนแก่นโลกก็เพิ่มเฟส c  (ในสมัยหลังมีเฟส I ที่เกิดจากการผ่านเข้าแก่นโลกส่วนในด้วย)

เช่นในภาพ f เฟส PKSPKS เกิดจากคลื่น P  ผ่านเข้าแกนโลกเป็น K แล้วทะลุออกอีกด้าน Transverse เป็นคลื่น S กลายเป็น PKS จากนั้นสะท้อนเปลือกโลก Transverse เป็นคลื่น P กลายเป็น PKSP ทะลุเข้าแก่นโลกเป็น PSKPK แล้วออกมาสุดท้ายกลายเป็นคลืน S จึงเป็น PKSPKS เป็นต้น

โพสท์ใน ภัยพิบัติ, วิชาแผ่นดินไหว 101 | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

รวมมาตราวัดขนาดแผ่นดินไหว (Earthquake Magnitude Scale)

ML มาตราริกเตอร์ หรือ มาตราท้องถิ่น (Local magnitude) เป็นมาตราฐาน กำเนิดก่อนและรู้จักนิยมใช้กันมากที่สุด ข้อดีคือคำนวนได้ง่ายและเร็ว แต่มีข้อจำกัดที่วัดได้ในระยะไม่เกิน 600 กม. และวัดขนาดได้ไม่เกิน 7.0 นิยมใช้ในประเทศที่มีขนาดเล็กเช่นไต้หวัน ไทย เนปาล ฯลฯ
MLv เป็นมาตราท้องถิ่นที่คำนวนโดยอิง vertical component using a correction term to fit with the standard ML
MLh เป็นมาตราท้องถิ่นที่คำนวนโดยอิง horizontal components to SED specifications
Ms  หรือมาตราคลื่นผิว (Surface wave magnitude) เป็นมาตราวัดแผ่นดินไหวระยะไกลโดยใช้แอมปริจูดของคลื่นเรลีย์ (Rayleigh wave) ในคาบ 20 วินาที มาตรานี้วัดขนาดได้แม่นยำในระหว่าง 5.0-8.0 วัดได้ไกลในระยะทาง 20°-180° (ระยะทาง 1 องศาในวิชาแผ่นดินไหวคือราวๆ 111 กิโลเมตร)
mb Narrow band or short-period body-wave magnitude using a third order Butterworth filter with corner frequencies of 0.7 and 2.0 Hz. มาตรานี้วัดขนาดระหว่าง 4.0-7.0 ระยะทาง 16°-100°
mB Broad band body wave magnitude.
mB_BB – broadband body-wave magnitude
Md – Duration magnitude นิยมใช้กับคลื่นแผ่นดินไหวหัวตัดที่ปรากฏในเครื่องวัด การที่มองไม่เห็นยอดทำให้คำนวนจากแอมปริจูดไม่ได้ มาตรานี้วัดขนาดน้อยกว่า 4.0 ไกลไม่เกิน 400 กม.
Me Energy magnitude Based on the amount of recorded seismic energy radiated by the earthquake. มาตรานี้วัดขนาดใหญ่กว่า 3.5 ไม่จำกัดความไกล
Ms_BB มาตราคลื่นผิวที่วัดได้จากเครื่องมือชนิด broad-band (เหมือน Ms แต่คำนวนจาก velocity /2 pi)
Ms_20 – teleseismic surface-wave magnitude at period of 20 seconds
Mjma – หรือย่อว่า Mj เป็นมาตราวัดแผ่นดินไหวของอุตุนิยมญี่ปุ้่นหรือ JMA รายละเอียด
MLg มาตราคลื่นเลิฟความถี่สูง หรือคลื่น Lg มาตรานี้วัดแอมปริจูดของคลื่น Lg โดยสามารถวัดขนาดระหว่าง 5.0-8.0  ไม่จำกัดความไกล
Mw  – มาตราโมเมนต์ Moment magnitude มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวที่มีความผิดเพี้ยนน้อยที่สุด สามารวัดขนาดใหญ่กว่า 3.5 ไปจนเท่าไรก็ได้และไม่จำกัดความไกล ข้อเสียคือคำนวนได้ช้าที่สุด
Mwp – มาตราโมเมนต์ ที่ใช้คลื่น P Wave เป็นหลัก เน้นความเร็วในการคำนวน นิยมใช้ในการหาขนาดแผ่นดิวไหวที่จะก่อสึนามิเพราะต้องการความเร็ว รายละเอียด
Mi  – มาตราโมเมนต์ Based on the integral of the first few seconds of P wave on broadband instruments (Tsuboi method). มาตรานี้วัดขนาดใหญ่กว่า 3.5 ไม่จำกัดความไกล

โพสท์ใน ภัยพิบัติ, วิชาแผ่นดินไหว 101 | ติดป้ายกำกับ , , | ใส่ความเห็น

ชาร์ล ฟรานซิส ริคเตอร์

images

ชาร์ล ฟรานซิส ริคเตอร์ (Charles Francis Richter) เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1900 ณ ฟาร์มแห่งหนึ่งในเมืองแฮมิลตัน มลรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา บิดา-มารดาแยกทางกันขณะเขายังเยาว์

ในปี ค.ศ.1909 ริคเตอร์ไปลอสแองเจลิส กับมารดา ครั้นอาย 16 ริคเตอร์ไดเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียใต้ หลังจากนั้น 1 ปี ก็ย้ายไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และได้สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาฟิสิกส์เมื่อ ค.ศ.1920 จากนั้นก็ได้ศึกษาต่อ ณ สถาบันเทคโนโลยแีห่งแคลิฟอร์เนีย จนสำเร็จดุษฎีบัณฑิตสาขาเดียวกัน เมื่อค.ศ.1928

เดิมริคเตอร์ตั้งใจประกอบอาชีพด้านดาราศาสตร์ แต่ต้องเปลี่ยนความตั้งใจ เมื่อ โรเบอร์ต มิลลิแกน ผู้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาขอให้เขาเป็นผู้ช่วยนักวิจัยที่ห้องปฏิบัติการด้านแผ่นดินไหว ณ สถาบันทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียนั้น เขาได้ปฏิบัติงาน ณ สถาบันดังกล่าวมาตลอด  ยกเว้นก็แต่ช่วง ค.ศ. 1959-1960 เมื่อได้ทุนฟูลไบรต์ให้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น  

ด้านความก้าวหน้าด้านวิชาชีพ ริคเตอร์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ เมื่อ ค.ศ.1947 เป็นศาสตราจารย์ ค.ศ.1952 และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณเมื่อ ค.ศ.1970

ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีในวิชาชีพ ริคเตอร์นับเป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าในสาขาวิชาแผ่นดินไหว และวิศวกรรมแผ่นดินไหว ค.ศ.1935 เป็นช่วงเวลาที่ทำให้เขามีชื่อเสียงก้องโลก เมื่อได้เสนอแนวคิดการหาขนาดแผ่นดินไหวขึ้นเป็นครั้งแรก จนเป็นที่รู้จักแม้ในปัจจุบันว่าขนาดตามมาตราริคเตอร์ ผลงานของเขาจึงยังนับว่าทรงอิทธิพลในสาขาวิชาแผ่นดินไหว

ผลงานทางวิชาการของริคเตอร์มีเป็นจำนวนมาก เช่น ความรู้เบื้องต้นวิชาแผ่นดินไหว (Elementary Seismolgoy) จัดเป็นตำราเรียนเล่มเอกสำหรับผู้เริ่มศึกษาวิชาการสาขานี้ เขายังได้ร่วมงานกับกูเตนเบอร์กในผลงาน แผ่นดินไหวของโลก (Seismicity of the Earth) นอกจากนี้ ยังมีบทความทางวิชาการอีกกว่า 200 ชิ้น ในฐานะอาจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษา และนักวิจัย ริคเตอร์ได้สร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวงให้แก่พัฒนาการของวิชาแผ่นดินไหว นาม ริคเตอร์จึงควรได้รับการจดจำจารึกไว้ในแวดวงวิชาการสาขานี้ตลอดไป

คำให้สัมภาษณ์ของริคเตอร์

คำถาม: เหตุใดท่านจึงให้ความสนใจวิชาแผ่นดินไหว?
ริคเตอร์: เป็นความบังเอิญที่น่าประทับใจ ตอนนั้นผมกำลังศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ อยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียโดยมี ดร.โรเบอร์ต มิลลิแกน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา วันหนึ่งท่านเรียกผมไปพบที่สำนักงานของท่าน กล่าวว่าห้องปฏิบัติการด้านแผ่นดินไหวแห่งสถาบันนั้น กำลังต้องการนักฟิสิกส์สักคน ผมก็เลยได้ทำงานที่นั่นตั้งแต่ ค.ศ.1927

คำถาม: ไม่ทราบว่าอะไรคือจุดเริ่มต้นของแนวคิดการหาขนาดแผ่นดินไหว?
ริคเตอร์: เป็นช่วงเวลาที่ผมร่วมงานกับทีมงานของ แฮรี วูด ผู้ปฏิบัติงานที่ห้องปฏิบัติการด้านแผ่นดินไหวอยู่ก่อนแล้ว งานหลักที่ผมได้รับมอบหมายคืออ่านบันทึกคลื่นแผ่นดินไหว หาศูนย์กลาง เพื่อจัดทำรายงานศูนย์กลางแผ่นดินไหว เรื่องนี้ต้องให้เครดิตคุณแฮรี วูด ผู้เสนอโครงการวิจัยด้านแผ่นดินไหวบริเวณแคลิฟอร์เนียใต้ ตอนนั้นคุณวูดร่วมงานกับคุณแม็กเวลล์ เอเลียน ในการตรวจแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย เราใช้เครื่องตรวจแผ่นดินไหวแบบบิดของวูด-แอนเดอร์สัน รวมเจ็ดสถานีที่ค่อนข้างอยู่ห่างไกลกัน ผมได้แนะนำพวกเขาว่า เราควรเปรียบเทียบแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น โดยการวัดแอมพลิจูดของบันทึกคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจได้จากสถานีเหล่านั้น ด้วยการหักแก้ตามระยะทางที่เหมาะสม ผมได้ร่วมงานกับวูดในการตรวจแผ่นดินไหวครั้งล่าสุด เราพบอุปสรรคว่าจะหาโมเดลการดูดซับพลังงานของคลื่นตามระยะทางได้อย่างไร บังเอิญผมได้อ่านบทความของ ดร.วาดาติ แห่งประเทศญี่ปุ่น กล่าวถึงการเปรียบเทียบแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ โดยอาศัยค่าการเคลื่อนที่ของพื้นดินตามระยะทาง ผมได้นำเทคนิคนั้นมาประยุกต์กับงานของเรา แต่ยังขัดข้องที่แผ่นดินไหวขนาดใหญ่สุดกับเล็กสุดมีช่วงห่างของแอมพลิจูดมากมายจนไม่รู้จะทำอย่างไร เพื่อให้การพล็อตค่าเหล่านี้เป็นไปได้ ดร.กูเตนเบอร์ก แนะนำให้ใช้ค่าล็อกการิธึม จึงทำให้สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างดี นี่เองที่ทำให้ผมได้แนวคิดในการจัดขนาดของแผ่นดินไหว นอกจากนี้ เส้นโค้งการดูดซับพลังงานของคลื่นแผ่นดินไหวตามระยะทางยังสอดคล้องกับค่าแอมพลิจูดด้วย ทำให้สามารถหาค่าเฉลี่ยได้เมื่อเคลื่อนค่าต่าง ๆ ที่ตรวจได้ในแนวดิ่งให้ขนานกับเส้นโค้งเดิม ช่วงต่างของค่าล็อกการิธึมของแผ่นดินไหวแต่ละครั้งจึงถูกนำมาเป็นค่าขนาดของแผ่นดินไหวเชิงเครื่องมือ คุณวูดแนะนำว่า ค่าที่ได้นี้ควรมีชื่อเรียกให้แตกต่างจากระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวตอนนั้นผมพอมีความรู้ด้านดาราศาสตร์อยู่บ้างจึงได้เรียกค่าที่ได้ใหม่นี้ว่าขนาด (Magnitude) อย่างเดียวกับที่ใช้เรียกค่าความสว่างของดาวนั่นเอง

คำถาม: ไม่ทราบว่าจะมีวิธีการอย่างไร ในการปรับค่าขนาดแผ่นดินไหวดังกล่าวกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก?
ริคเตอร์: นี่เป็นคำถามที่ดีและเป็นประเด็นจริง ๆ เนื่องจากการหาค่าขนาดที่ผมประกาศใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ.1935 นั้น เป็นผลมาจากการตรวจแผ่นดินไหวเฉพาะในแคลิฟอร์เนียใต้ และได้จากการตรวจวัดของเครื่องมือที่มีแบบเฉพาะของมัน  การปรับวิธีหาค่าขนาดแผ่นดินไหวในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งมีเครื่องมือแตกต่างกัน เริ่มเมื่อ ค.ศ.1936 จากความร่วมมือของ ดร. กูเตนเบอร์ก วิธีการคือ เราใช้รายงานผลการตรวจวัดค่าแอมพลิจูดของคลื่นพื้นผิว ที่มีช่วงคลื่นประมาณ 20 วินาที  ทำให้สามารถปรับวิธีการหาค่าขนาดได้ทั่วโลก

คำถาม: ไม่ทราบว่า ดร.กูเตนเบอร์ก ได้มองหาวิธีอื่น ๆ ในการหาค่าขนาดแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลกหรือไม่อย่างไร?
ริคเตอร์: แน่นอนครับ ดร.กูเตนเบอร์กได้ทำงานของท่านต่อไปโดยผมไม่ค่อยได้มีส่วนมากนัก ท่านได้นำผลการตรวจวัดแอมพลิจูดและช่วงคลื่นของคลื่นหลักได้แก่ คลื่นพี คลื่นเอสและคลื่นพีพีมาใช้ ผลคือ ท่านพอใจวิธีหลังนี้มากกว่าการตรวจวัดคลื่นพื้นผิว ตอนนั้นผมคิดว่า ตามทฤษฎีก็น่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ได้สอนให้เรารู้ว่า ความไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้และการประยุกต์ใช้อย่างผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ ยกตัวอย่างเช่น บางครั้งเราพบว่า ค่าขนาดของแผ่นดินไหวนั้นได้จากผลการตรวจวัดแอมพลิจูดและช่วงคลื่นของคลื่นพีสองสามคลื่นแรก ไม่ใช้ถอยห่างออกไปมาก ๆ อย่างที่กูเตนเบอร์กทำ  หรือแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในระดับลึก เราพบว่าคลื่นหลักนั้นได้สูญเสียพลังงานไปมาก กว่ามันจะเดินทางขึ้นไปถึงเปลือกโลก เมื่อเทียบกับแผ่นดินไหวระดับตื้นที่ไม่สูญเสียพลังงานไปเท่าใดเลย

คำถาม: ประชาชนจำนวนมาก คิดว่าขนาดแผ่นดินไหวตามมาตราริคเตอร์ มีค่าไม่เกิน10 ท่านมีความเห็นอย่างไร?
ริคเตอร์: ผมต้องขอกล่าวย้ำเพื่อแก้ไขความเชื่อนี้ โดยหลักการแล้ว แผ่นดินไหวแต่ละค่าขนาดแสดงถึงความแตกต่างเป็นสิบเท่าของระดับการเคลื่อนที่ของพื้นดินขณะเกิดแผ่นดินไหว แต่ไม่ได้หมายความว่า แผ่นดินไหวจำกัดอยู่แต่เพียงขนาด 10 เหมือนที่ใช้กับค่าระดับความรุนแรง อย่างไรเสีย ผมดีใจที่สื่อได้กล่าวถึงค่าขนาดแผ่นดินไหวตามมาตราริคเตอร์ที่มีลักษณะเป็นสเกลเปิด ค่าขนาดแผ่นดินไหวนั้น เป็นผลมาจากการทำงานของเครื่องตรวจแผ่นดินไหว แม้เรานำค่าล็อกการิธึมมาใช้ก็จริงอยู่ แต่ค่านั้นไม่มีเพดานจำกัด อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผ่านมา เราพบว่าแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดมีค่าประมาณ 9 แต่นั้นเป็นข้อจำกัดของปรากฏการณ์ของโลก ไม่ใช้ข้อจำกัดของการตรวจวัด

คำถาม: ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ท่านจะต้องถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างขนาดกับระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว?
ริคเตอร์: นี่เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่ทำให้ประชาชนสับสน ผมอยากเปรียบเทียบกับการส่งคลื่นวิทยุ เพราะสามารถเทียบได้กับวิชาแผ่นดินไหว โดยเครื่องตรวจแผ่นดินไหวเปรียบได้กับเครื่องรับวิทยุ ที่ทำหน้าที่แสดงผลของคลื่นแผ่นดินไหวที่ถูกส่งออกมาจากแหล่งกำเนิด  เทียบได้กับคลื่นวิทยุที่ถูกส่งออกมาจากสถานีวิทยุกระจายเสียง ขนาดของแผ่นดินไหวเปรียบได้กับกำลังส่งที่มีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ของคลื่นวิทยุที่ถูกส่งออกไปส่วนระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวตามมาตราเมอคัลลี เปรียบได้กับความดังของคลื่นวิทยุ ณ เครื่องรับแต่ละแห่ง ที่ขึ้นกับคุณภาพของสัญญาณจากสถานีส่งไปยังเครื่องรับ เช่น อ่อนกำลังลงเมื่อเดินทางผ่านระยะทางไกล ๆ นอกจากนี้ สมบัติของเส้นทางเดินของคลื่น มีผลต่อกำลังของคลื่นจากต้นทางไปยังปลายทางด้วยเช่นกัน

คำถาม: ท่านมีความเห็นอย่างไร เกี่ยวกับการประเมินเพื่อทบทวนค่าขนาดของแผ่นดินไหวเมื่อเร็ว ๆ นี้?
ริคเตอร์: การตรวจสอบเป็นเรื่องธรรมดาของวิทยาศาสตร์ เมื่อคุณทำการตรวจวัดปรากฏการณ์หนึ่งผ่านไปนาน ๆ   หลักการเดิมของเราในการหาค่าขนาดแผ่นดินไหว คือ อาศัยผลการตรวจจากเครื่องตรวจแผ่นดินไหว ต่อมาเมื่อมีการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับพลังงานของแผ่นดินไหว ก็นับว่าเป็นการตรวจวัดเชิงปริมาณเช่นกัน เมื่อสมมุติฐานที่ใช้ในการคำนวณพลังงานของแผ่นดินไหวเปลี่ยนไป ย่อมมีผลต่อผลลัพธ์เป็นธรรมดา แม้ใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เราพยายามที่จะรักษาความหมายของคำว่าขนาดแผ่นดินไหวให้ใกล้เคียงกับผลการตรวจวัดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผลเป็นอย่างไร แน่นอน ผลย่อมเป็นไปในทางเดียวกัน ยกเว้นเฉพาะตัวแปรที่เป็นค่าคงตัวเท่านั้น และนี่เป็นข้อพิสูจน์ถึงความจริง เกินกว่าที่เราคาด

อนาคตของการหาขนาดแผ่นดินไหวที่น่าจับตามองที่สุด คือ วิธีที่ใช้ได้เหมือนกันหมดทั่วโลก ไม่ว่าเครื่องมือที่ใช้ตรวจเป็นแบบใด อย่างที่เราคาดไว้แต่แรก เราควรยินดี ถ้ามีการแบ่งแผ่นดินไหวออกเป็นสามขนาดคือ ใหญ่ กลางและเล็ก ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ จากการคำนวณของแต่ละบุคคลหรือเครื่องมือแต่ละแบบ

งานของ ดร.คานาโมริและคณะ เน้นที่รายละเอียดของแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง ถึงตอนนี้ เราน่าจะมาถึงจุดหลีกพ้นค่าขนาดแผ่นดินไหวที่แตกต่างกันอันเนื่องจากวิธีการคำนวณ หรือเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัด ว่าไปแล้วก็คล้ายกับดาราศาสตร์ เมื่อความสว่างที่ต่างกันของดาว ขึ้นกับความยาวคลื่นแสงที่วัด เช่น ดาวบางดวงส่งพลังงานออกไปมากในย่านอินฟราเรด จึงมีการใช้ค่าความสว่างสัมพัทธ์ แทนที่จะใช้ย่านช่วงคลื่นกลางของแสง นี่เป็นอุปมาของการตรวจวัดขนาดแผ่นดินไหวที่ ดร.คานาโมริและคณะกำลังดำเนินการอยู่

คำถาม: ไม่ทราบว่าขณะนี้ท่านได้ร่วมดำเนินการประเมินความเสี่ยงภัยด้านแผ่นดินไหวอยู่หรือไม่?
ริคเตอร์: ใช่ครับ ผมเป็นที่ปรึกษาโครงการโดยเฉพาะการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัย  ปัญหาของการประเมินอัตราเสี่ยงด้านแผ่นดินไหวเริ่มต้นที่ด้านธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ และท้ายสุดเป็นด้านวิศวกรรม เมื่อได้พื้นที่ในการวิเคราะห์ สิ่งที่เราต้องทำ คือ ประเมินผลกระทบของแรงสั่นสะเทือนที่มีต่อโครงสร้างต่าง ๆ ในพื้นที่ดังกล่าว ตามปกติ ต้องบรรยายถึงลักษณะการออกแบบโครงสร้างด้านวิศวกรรมกับผลกระทบที่ได้รับจากแรงสั่นสะเทือนในอดีตที่ผ่านมา  หรือกับแรงสั่นสะเทือนที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากนั้นก็มาถึงปัญหาด้านวิศวกรรม วิศวกรต้องพิจารณาถึงแรงสั่นสะเทือนที่คาดว่าจะเกิดขึ้น แล้วพิจารณาเกี่ยวกับโครงสร้างที่จำเป็นที่ทำให้โครงสร้างปลอดภัยอยู่ได้บนพื้นที่นั้น

ก้าวแรกสู่โครงสร้างต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว คือ การกำหนดค่าอัตราเร่งของพื้นดินขณะเกิดแผ่นดินไหว โดยมุ่งเน้นไปที่ตัวแปรของอัตราเร่งในแนวระนาบ เหตุผลง่าย ๆ ก็คือ โครงสร้างทั่วไปมีตัวแปรเกี่ยวกับความปลอดภัยในแนวดิ่งอยู่แล้ว เพื่อต้านอัตราเร่งอันเนื่องจากแรงโน้มถ่วงนั่นเอง จากการที่นักวิทยาศาสตร์เรียนรู้มากขึ้นจากแผ่นดินไหวในอดีต ทำให้ตระหนักว่าการลดอัตราเสี่ยงโดยพิจารณาแรงสั่นสะเทือนมิติเดียวนั้นไม่เพียงพอ เพราะคลื่นสั่นสะเทือนมีหลายมิติ และหลายย่านความถี่ ปัจจัยหลักคือ ช่วงเวลาของการสั่นสะเทือน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง อัตราเร่งอันเนื่องจากแรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้นนานเพียงใด

คำถาม: ไม่ทราบว่าท่านเห็นควรเสริมมาตรการลดภัยพิบัติด้านแผ่นดินไหวหรือไม่?
ริคเตอร์: ผมมักชี้ให้เห็นเสมอว่า การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินนั้น มักเกิดจากการวิบัติของโครงสร้างที่ไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะโครงสร้างอิฐ หรือปูน ทุกแห่งที่มีอัตราเสี่ยงแผ่นดินไหว มักพบโครงสร้างประเภทนี้อยู่ทั่วไป แต่ก็นั่นแหละ คงยากที่จะกำจัดออกไป  อย่างน้อยแคลิฟอร์เนียก็มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้ โครงสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ล้วนได้รับการออกแบบให้ต้านทานแผ่นดินไหว และคงป่วยการที่จะถามหาการพยากรณ์แผ่นดินไหวในขณะนี้

คำถาม: เกี่ยวกับประเด็นการพยากรณ์แผ่นดินไหว ท่านคิดว่าเราจะมีความก้าวหน้าหรือไม่ในทศวรรษหน้า?
ริคเตอร์: ไม่มีอะไรที่คาดหมายได้ยากกว่าความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับสาขาวิชาแผ่นดินไหว เรามีบุคลากรและเครื่องมือเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก หวังว่าเราจะเอาชนะสิ่งเร้นลับของธรรมชาตินี้ได้สักวัน ยกตัวอย่างเช่น เรามีความสามารถในการศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างโลกของเรากับดาวอื่น ๆ ในระบบสุริยะ การระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟบนดวงจันทร์ บริวารของดาวพฤหัสบดีมีผลใหญ่หลวงต่อแนวคิดด้านกระบวนการทางธรณีฟิสิกส์ และธรณีเคมีภายในดาวเคราะห์และบริวาร

โพสท์ใน ภัยพิบัติ | ติดป้ายกำกับ , , , | 1 ความเห็น

จำนวนครั้งของแผ่นดินไหวต่อปี

CCz4kZlWEAAZ8hI ตารางด้านบนแสดงให้เห็นจำนวนของแผ่นดินไหวต่อปีทั่วโลกแยกตามขนาด (ไม่รวมอาฟเตอร์ช็อค)  จะเห็นว่า แผ่นดินไหวขนาดยักษ์ (Great) ที่ใหญ่ว่า 8.0 จะเกิดปีละครั้ง ขนาดใหญ่ (Major) คือช่วง 7.0 ถึง 7.9 จะเกิดเดือนละครั้ง ขนาดปานกลาง (Moderate) คือช่วง 5.0 ถึง 5.9 เกิดวันละ 3-4 ครั้ง ในตารางนี้ไม่รวมแผ่นดินไหวขนาดจิ๋ว (Micro) หรือเล็กกว่า 2.9 ซึ่งเกิดถี่ถึงปีละราว 1.3 ล้านครั้ง หรือ นาทีละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะขนาดเล็กกว่า 2.0 นั้นเกิดถึงราววันละกว่า 8,000 ครั้ง ที่ไหนซักแห่งในโลก

ความถี่ของแผ่นดินไหวในตารางนี้คือ จำนวนการเกิดเป็นปกติตามธรรมชาติ แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดเพิ่มมากขึ้นตามที่คนสมัยนี้มักจะพูดกัน แต่ที่รู้สึกกันไปว่าเกิดเป็นจำนวนมาก เพราะระบบสื่อสารแจ้งข่าวปัจจุบันเร็วขึ้น ละเอียดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีสื่อออนไลน์ ทำให้คิดไปเองว่าแผ่นดินไหวมีการเกิดมากขึ้นตามไปด้วยMEANEQPERYEAR

โพสท์ใน ภัยพิบัติ | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

ปี 2557 ที่ผ่านมา อุณหูมิเฉลี่ยของผิวโลกสูงสุดในรอบ 135 ปี

_80328072_2014_annual_w-colorbar

มีคำยืนยันอย่างเป็นทางการทั้งจากข้อมูลของ WMO และ NOAA รวมทั้งตัวเลขจาก NASA ว่าปี 2014 หรือ 2557 ที่เพิ่งผ่านไป เป็นปีที่อุณหูมิเฉลี่ยของผิวโลกเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่มีการบันทึกข้อมูลกันมากว่า 135 ปี คือนับจากปี 1880 โดยอุณหภูมิเฉลี่ยที่วัดได้ทั้งจากบนพื้นดินและน้ำทะเลได้พุ่งขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องหลังจากปี 2000 เป็นต้นมาและมาแตะจุดสูงสุดจนทำลายทุกสถิติในปี 2014 ซึ่งสุดท้ายแล้วผลที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไปจะตกแก่เราทุกคน หากยังไม่ลงมือแก้ไขอย่างจริงจังนับจากวันนี้

โพสท์ใน อะไร อะไร | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

Strike Dip Slip ในวิชาแผ่นดินไหว

fault_model2

Strike ø คือมุมของรอยเลื่อนในแนวระนาบเทียบกับทิศเหนือ มีค่า 0°ถึง 360°

Dip δ คึอมุมของ hanging-wall block วัดจากระนาบผิวดิน มีค่า 0° ถึง 90°

Slip λ คือมุมการคลื่อนของ hanging-wall block มีค่า -180° ถึง 180°

An Introduction to Seismology, Earthquakes, and Earth Structure - Seth Stein, Michael Wysession - Google Books

  • ถ้า λ เป็น 0° แสดงว่า  hanging-wall เคลื่อนในแนวระนาบ เป็น Strike slip ชนิดเลื่อนซ้าย หรือ  left-lateral (sinstral)
  • ถ้า λ มากกว่าศูนย์ แสดงว่า  hanging-wall เคลื่อนขึ้น ถือเป็น Reverse fault
  • ถ้า λ เป็น 180° แสดงว่า  hanging-wall เคลื่อนในแนวระนาบ เป็น Strike slip ชนิดเลื่อนขวา หรือ  right-lateral (dextral)
  • ถ้า λ น้อยกว่าศูนย์แสดงว่า  hanging-wall เคลื่อนลง ถือเป็น Normal fault
โพสท์ใน ภัยพิบัติ, วิชาแผ่นดินไหว 101 | ติดป้ายกำกับ , , , , | ใส่ความเห็น