กรณีศึกษา การเกิดสึนามิ ที่หมู่เกาะเคอร์มาเดคเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 54

PTWC แจ้งเตือนการเกิดแผ่นดินไหวขนาดแมกนิจูด 7.8  ในเบื้องต้น และมีการปรับลดแมกนิจูดลงมา เหลือ 7.6 ในตอนหลัง (USGS) หรือ 7.4 ตามข้อมูลของกรมอุตุไทย ที่หมู่เกาะเคอร์มาเดค ในแปซิฟิคใต้เมื่อเวลา 02:03 วันที่ 7 ก.ค. 54 ตามเวลาในประเทศไทย  หลังจากนั้นยังเกิด After Shock อีกหลายครั้ง ตำแหน่งที่เกิดเหตุ ตามแผนที่ด้านล่างนี้

ภาพตำแหน่งการเกิดแผ่นดินไหวที่ก่อคลื่นสึนามิเมื่อ 02:03 เวลาไทย

ในเวลานั้น ทุ่นเตือนสึนามิประเภท DART ของ NDBC  บริเวณนั้น ทำงานเป็นปกติเพียง 1  ตัวคือ 54401 แต่ทุ่นอีกสองตัวคือ  51425 และ 51426 ไม่ทำงาน

ตำแหน่งทุ่นทั้ง 4 ลูก ที่แจ้งการเกิดคลื่น คือ 54401 ทางเหนือและ 55013,55015,55042 ทางใต้

 

กราฟความเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลในระดับวินาทีของ 54401 ในช่วงเกิดเหตุเป็นดังนี้

 

กราฟความเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลในระดับวินาทีของ 55042 ในช่วงเกิดเหตุเป็นดังนี้

เราจะเห็นกราฟที่แสดงระดับน้ำขึ้นน้ำลงตามปกติทุกวันๆละสองครั้งเป็นสีน้ำเงิน แต่เมื่อเกิดสึนามิ ระดับน้ำทะเลจะเปลี่ยนแปลงกระทันกันในระดับวินาที (สีแดง) และนาที (สีเขียว) จากภาพจะเห็นความเปลี่ยนแปลง ณ เวลา 19:0X ตามเวลา GMT หรือ 02:0X ตามเวลาไทย

แต่ในสองชั่วโมงถัดมา ตำเตือนสึนามิได้ถูกยกเลิก เนื่องจากทุ่นสึนามิในบริเวณถัดมาหลายลูก เช่น 55012 หรือ 52406 ตรวจไม่พบคลื่น

ภาพจากทุ่น 52406 ไม่พบคลื่น

โดยอนุมานเวลาเดินทางของคลื่น (หากเกิดขึ้น) ตามด้านล่างนี้

ภาพแสดงเวลาเดินทางของคลื่น จุดสีแดงเหลืองในภาพ คือทุ่นเตือนสึนามิในตำแนห่งต่างๆ

การเตือนสึนามิได้ถูกยกเลิกไปในเวลา 02:59 ตามเวลาไทย โดยประกาศจาก PTWC ตามลิงค์นี้ กด

แต่สิ่งที่เราฉงน และต้องนำมาศึกษาต่อไปคือ คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้น มันหายไปไหน อาจเกิดจากสภาพของท้องทะเลในบริเวณนั้น หรือขนาด หรือการหักล้าง เป็นโจทย์ให้คิดกันต่อไป

เรื่องนี้ถูกเขียนใน Uncategorized และติดป้ายกำกับ , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

1 ตอบกลับที่ กรณีศึกษา การเกิดสึนามิ ที่หมู่เกาะเคอร์มาเดคเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 54

ใส่ความเห็น