การตั้งชื่อพายุในทะเลจีนใต้

การตั้งชื่อพายุในทะเลจีนใต้

  1. เมื่อมีพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 34 นอต หรือ 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (กลายเป็นพายุโซนร้อน) พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ
  2. ชื่อของพายุจะเริ่มใช้ชื่อบนสุดของคอลัมน์หรือชุดที่ 1 ก่อน เช่น เมื่อมีพายุเกิดขึ้นมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1 เป็นตัวแรกของปี พายุลูกนั้นจะมีชื่อว่า “ดอมเรย”
  3. เมื่อมีพายุลูกต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1 พายุลูกนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมาในชุดที่ 1 เช่น พายุลูกที่ 2 จะมีชื่อว่า “ไห่คุ้ย”
  4. เมื่อใช้จนหมดชุดแรกให้ใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ “จ่ามี” จะใช้ชื่อ “กองเรย”
  5. เมื่อใช้จนหมดชุดที่ 5 ให้กลับมาใช้ชื่อแรกของชุดที่ 1 เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ “ซาวลา” จะใช้ชื่อ “ดอมเรย”

รายชื่อพายุมี 140 ชื่อ นำมาแบ่งเป็น 5 ชุดหลัก ชุดละ 28 ชื่อ โดยไล่เรียงชื่อไปตามลำดับประเทศ (และดินแดน) ที่เสนอมาตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ (ด้านตะวันตก) และทะเลจีนใต้
ประเทศที่ส่งชื่อ
ชุดที่ 1
ชุดที่ 2 ชุดที่ 3 ชุดที่ 4 ชุดที่ 5
กัมพูชา
ดอมเรย กองเรน นากรี กรอวาญ (กระวาน) สาลิกา
จีน
ไห่คุ้ย ยู่ทู่ ฟงเฉิน ตู้เจี้ยน ไหหม่า
เกาหลีเหนือ
ไคโรจิ โทราจิ คัลเมจิ มูจิแก มิอะริ
ฮ่องกง (จีน)
ไคตั๊ก มานหยี่ ฟองวอง ฉอยหวั่น หมาง้อน
ญี่ปุ่น
เทมบิง อุซางิ คัมมุริ คอบปุ โทะคาเงะ
ลาว
โบลาเวน ปาบึก (ปลาบึก) พันฝน กิสนา (กฤษณา) นกเตน (นกกระเต็น)
มาเก๊า (จีน)
ซานปา หวู่ติ๊บ หว่องฟง ป้าหม่า หมุ่ยฟ้า
มาเลเซีย
เจอลาวัต เซอปัต นูรี เมอโลร์ เมอร์บุก
ไมโครนีเซีย
เอวิเนียร์ ฟิโทว์ ซินลากอ เนพาร์ตัก นันมาดอล
ฟิลิปปินส์
มาลิกซี ดานัส ฮากุปิต ลูปีต ตาลัส
เกาหลีใต้
เกมี นารี ชังมี มีรีแน โนรู
ไทย
พระพิรุณ วิภา เมขลา นิดา กุหลาบ
สหรัฐอเมริกา
มาเรีย ฟรานซิสโก ฮีโกส โอไมส์ โรคี
เวียดนาม
เซินติญ เลกีมา บาหวี่ โกนเซิน เซินกา
กัมพูชา
โบพา กรอซา ไม้สัก จันทู เนสาด
จีน
หวู่คง ไห่เยี่ยน ไห่เฉิน เตี้ยนหมู่ เตี้ยนหมู่
เกาหลีเหนือ
โซนามุ โพดอล โนล มินดอลเล นาลแก
ฮ่องกง (จีน)
ซานซาน เหล่งเหลง ดอลฟิน ไลออนร็อก บันยัน
ญี่ปุ่น
ยางิ คะจิกิ คุจิระ คอมปาซุ วาชิ
ลาว
หลี่ผี ฟ้าใส จันหอม (จันทน์หอม) น้ำเทิน ปาข่า (ปลาข่า)
มาเก๊า (จีน)
เบบินคา เพผ่า หลิ่นฟ้า หม่าโหล ซันหวู่
มาเลเซีย
รุมเบีย ตาปาห์ นังกา เมอรันตี มาวาร์
ไมโครนีเซีย
ซูลิก มิแทก เซาเดโลร์ ฟานาปี กูโชล
ฟิลิปปินส์
ซิมารอน ฮากิบิส โมลาเว มาลากัส ตาลิม
เกาหลีใต้
เชบี โนกูรี โคนี เมกี ทกซุริ
ไทย
มังคุด รามสูร มรกต ชบา ขนุน
สหรัฐอเมริกา
อูตอร์ มัตโม เอตาว แอรี วีเซนเต
เวียดนาม
จ่ามี หะลอง หว่ามก๋อ ซงด่า ซาวลา

ข้อตกลงคือ พายุลูกถัดไปจะมีชื่อตามลำดับที่ตั้งไว้ เช่น พายุลูกปัจจุบัน (29 ก.ย. 53) คือมาลากัส ลูกต่อไปก็จะชื่อ เมกี, ชบา, … ไล่ไปตามลำดับ หากชื่อในชุดที่ 4 หมดก็ให้เริ่มที่ชื่อแรกในชุดที่ 5 ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมดชื่อสุดท้ายในชุดที่ 5 จากนั้นนำชื่อพายุในชุดที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 กลับมาใช้ซ้ำอีก

เรื่องนี้ถูกเขียนใน ภัยพิบัติ และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

2 ตอบกลับที่ การตั้งชื่อพายุในทะเลจีนใต้

  1. Pingback: รวม Link ข้อมูลสำคัญด้านภัยพิบัติ « Mr.Vop's Blog

  2. Pingback: 台風15号の名前で2018年の意味の場所の地図

ใส่ความเห็น