หลักการตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อย

ดาวเคราะห์น้อยจะได้รับการตั้งชื่อตามที่ผู้ค้นพบเสนอมา แต่รอ 10 ปีจากการตรวจสอบของคณะกรรมการที่ดูแลเรื่องนี้ 11 ท่านจาก International astronomical Union (IAU) กว่าจะได้ชื่อตามนั้น โดยชื่อต้องอ่านได้ ไม่ซ้ำ และไม่มีใครแย้ง รูปแบบชื่อ จะนำหน้าด้วยลำดับ permanent number ตามด้วยชื่อ เช่น 25143 Itokawa หรือ 99942 apophis เป็นต้น (ดูรายชื่อดาวเคราะห์น้อยขนาดยักษ์เรียงจากใหญ่ไปเล็ก 25 อันดับแรกจาก NASA กดตรงนี้)

แต่ก่อนหน้านั้น มันจะได้ชื่อชั่วคราว เช่น 2012KT42 ที่กำลังดังในเดือน พ.ค. ปี 2555 หรือ 2011AG5 ที่มีข่าวจะชนโลกใน 28 ปีข้างหน้า

ชื่อนีั้มาจากไหน

แน่นอน 2012 คือปีที่พบ

และอักษรอังกฤษตัวแรก คือ ปักษ์ ที่พบในปีนั้น

โดย A คือปักษ์แรกของมกราคม หรือ 1-15 มกราคม

B คือปักษ์ที่ 2 ของ มกราคม หรือ 16-31 มกราคม ต่อไปเรื่อยๆ โดยข้ามอักษร I ไปเพราะกลัวสับสนกับเลข 1

ดังนั้น แต่ละเดือนจะแทนแบบนี้ AB=1 CD=2 EF=3 GH=4 JK=5 LM=6 NO=7 PQ=8 RS=9 TU=10 VW=11 XY=12

เช่น พบปลายเดือนสิงหาคือ Q พบต้นเดือนมีนาคม คือ E เป็นต้น (ตัวละ 15 วันหรือ “ปักษ์”)

ต่อไป อักษรภาษอังกฤษตัวถัดไป คือลำดับที่ที่ค้นพบในปักษ์นั้น อักษรกลุ่มนี้ ไม่มีตัว I เช่นกัน จึงเหลือ A-Z แค่ 25 ตัว

ดังนั้น ถ้าพบดวงแรกของปักษ์ ก็ชื่อ A ดวงที่ 2 คือ B …..ที่ 24 คือ Y ที่ 25 คือ Z

พอเลย 25 ดวงทำไง ก็เอาตัวเลขนับกลุ่มต่อท้าย เช่นพอ Z คือ 25 พอดวงที่ 26 ก็ขึ้นเป็น A1 ดวงที่ 27 ก็ B1 พอไปถึงดวงที่ 49 ก็ Y1 ดวงที่ 50 ก็ Z1 แบบนี้

พอดวงที่ 51 ก็ A2 จับเป็นกลุ่มๆละ 25 ดวง

ตัวอย่างของจริง ดาวเคราะห์น้อย 2011MD ที่พุ่งเฉียดโลกไปเมื่อ 27 มิถุนายน 2011 ชื่อของมันแปลว่า ค้นพบปี 2011 ปักษ์หลังของมิถุนายน (M) เป็นดวงที่ 4 ของปักษ์นั้น (D)

หรือ 2012KT42 อันโด่งดัง ก็มาจากความหมายว่า ค้นพบปี 2012 ปักษ์หลังของพฤษภาคม (K) เป็นดวงที่   1,069 ของปักษ์นั้น (เยอะมากกก)

เออ อย่างงนะ 1,069 มาจาก T42 คือ อักษร T แปลว่า 19 แล้วจัดกลุ่มไป 42 กลุ่มๆละ 25 เป็น (25×12=1,050) บวกกับ 19 เป็น 1,069 ไงล่ะ

โอเคนะ

เรื่องนี้ถูกเขียนใน ดาราศาสตร์, ภัยพิบัติ, อะไร อะไร และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

2 ตอบกลับที่ หลักการตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อย

  1. Pingback: ความจริงเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อย “เบนนู” – Jimmy's Blog

  2. Pingback: ความจริงเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อย "เบนนู" | STEM.in.th

ใส่ความเห็น