ปรากฏการณ์ ฟูจิวารา Fujiwhara effect

ปรากฏการณ์ ฟูจิวารา Fujiwhara effect คือปรากฏการณ์ที่พายุหมุนเขตร้อน หรือ นอกเขตร้อน 2 ลูก ดึงดูดให้โคจรรอบกันและกัน ลดระยะห่างระหว่างกัน สุดท้ายอาจรวมกัน (Merge) เป็นพายุใหญ่ลูกเดียว บัญัญติโดยนักอุตุนิยมวิทยาชาวญี่ปุ่น Sakuhei Fujiwhara โดยระยะห่างที่จะเกิดปรากฏการณ์นี้ จะแบ่งตามชนิดพายุ กล่าวคือ

  • พายุหมุนเขตร้อน จะเกิด effect เมื่อเข้าใกล้กันเกินระยะ 1,400 กิโลเมตร
  • พยุหมุนนอกเขตร้อน จะเกิด effect เมื่อเข้าใกล้กันเกินระยะ 2,000 กิโลเมตร

Fujiwhara_Diagram

ตัวอย่างของคู่พายุ ที่เกิดปรากฏการณ์ ฟูจิวารา เช่น

  • พายุโซนร้อน Yule และ พายุดีเปรสชัน 16W ในปี 1997 (ไดอะแกรมด้านบน)
  • พายุเฮอริเคน Kirsten และ Ione ในปี 1974
  • ไต้ฝุ่น Pat และ พายุโซนร้อน Ruth ในปี 1994
  • ไต้ฝุ่น Nida และ พายุดีเปรสชัน 27W ในปี 1994
  • ไต้ฝุ่น เทมบิน และ บ่อละเวน ในปี 2012
เรื่องนี้ถูกเขียนใน ภัยพิบัติ และติดป้ายกำกับ , , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร